วันพุธที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2555


The Barthel Activity of Daily Living Index


แบบประเมินการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน
ของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง

The Barthel Activity of Daily Living Index

           ดัชนีบาร์เทล (The Barthel ADL Index) สร้างขึ้นโดย Mahonney และ Bathel เป็นแบบประเมินที่ใช้ในการประเมินผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง 

           โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความก้าวหน้าในการดูแลตนเองและการเคลื่อนไหวในผู้ป่วยที่ได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพประกอบด้วย 10 กิจกรรม ได้แก่ การรับประทานอาหาร การหวีผม การลุกจากที่นอน การใช้ห้องสุขา การควบคุมการขับถ่ายอุจจาระ การควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะ การอาบน้ำ การสวมใส่เสื้อผ้า การเคลื่อนที่ภายในบ้าน และการเดินขึ้นลงบันได 1 ชั้น (Wade, 1992) 

            โดยมีคะแนนรวม 0-100 คะแนน และมีการแบ่งคะแนนระดับความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันซึ่งเป็นคะแนนไม่ต่อเนื่องและคะแนนที่ได้จะอยู่ในช่วงคะแนนที่กำหนดไว้ โดยมีเกณฑ์การให้คะแนน ดังนี้



                 0-20 หมายถึง ไม่สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้เลย
                 25-45 หมายถึง สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้เล็กน้อย
                 50-70 หมายถึง สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้ปานกลาง
                 75-95 หมายถึง สามารถประกอบกิจวัตรประจำวันได้มาก
                 100 หมายถึง สามารถประกอบกิจวัตรประจำวันได้ด้วยตนเองทั้งหมด
 



1. feeding การรับประทานอาหาร
     0 ไม่สามารถรับประทานอาหารได้เอง ต้องป้อนอาหารให้ หรือรับอาหารทางสายยาง
     5 ต้องมีผู้คอยดูแลช่วยเหลือในการเตรียมอาหาร เช่น ช่วยตัดหรือหั่นอาหาร
     10 ช่วยตัวเองได้เมื่อเตรียมอาหารวางไว้ให้

2. Transfer การเคลื่อนย้า 
     0 ไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้
     5 ต้องมีผู้ช่วยเหลือ 1-2 คน ในการเคลื่อนย้าย นั่งทรงตัวได้
     10 เคลื่อนย้ายได้โดยมีผู้ช่วยเหลือ 1 คน คอยช่วยพยุงหรือชี้แนะ
     15 สามารถลุกจากเตียง ที่นอน หรือเคลื่อนย้ายลงมาเก้าอี้เข็นและสามารถล๊อคล้อเก้าอี้เข็นได้

3. Mobility การเดินการเคลื่อนที่
    0 เคลื่อนไหวไม่ได้
    5 สามารถใช้เก้าอี้เข็น คลาน หรือถัดได้
    10 เดินได้โดยมีคนช่วยพยุง 1 คน
    15 เดินได้เอง โดยอาจใช้ไม้เท้า หรือเครื่องพยุงเดิน

4. Dressing การแต่งตัว สวมใส่เสื้อผ้า    0 ไม่สามารถแต่งตัวหรือสวมใส่เสื้อผ้าได้เอง
    5 ต้องมีผู้ช่วยเหลือบางขั้นตอน
    10 แต่งตัว สวมใส่เสื้อผ้าได้

5. Bathing การอาบน้ำ เช็ดตัว    0 ไม่สามารถอาบน้ำ หรือเช็ดตัว ดูแลความสะอาดของร่างกายได้ต้องการความช่วยเหลือในบางขั้นตอน
    5 สามารถอาบน้ำ ทำความสะอาดร่างกายได้ ทั้งฟอกสบู่ ตักน้ำราดตัว หรือเช็ดตัวได้ทุกส่วน

6. Groming สุขวิทยาส่วนบุคคล    0 ต้องพึ่งพาบุคคลอื่นทั้งหมดในการล้างหน้า แปรงฟัน หวีผม หรือโกนหนวด
    5 สามารถล้างหน้า แปรงฟัน หวีผม โกนหนวดได้

7. Toilet use การใช้ห้องสุขา หรือกระโถน
     0 ต้องพึ่งพาเกี่ยวกับการเข้า-ออกห้องสุขา หรือ การสอดดึงกระโถนรวมทั้งการถอด/
ใส่เสื้อผ้า การล้างทำความสะอาดหลังการขับถ่าย
     5 ต้องการความช่วยเหลือในบางขั้นตอน
     10 สามารถเข้า-ออก ห้องสุขา หรือการสอด-ดึงกระโถน รวมทั้งการถอด/สวมเสื้อผ้า
การล้างทำความสะอาดภายหลังจากการขับถ่าย

8. Bowels การควบคุมการถ่ายอุจจาระ
    0 กลั้นไม่ได้ อุจจาระราด กระปริดกระปรอย หรือท้องผูก ต้องสวนอุจจาระให้
    5 กลั้นได้เป็นส่วนใหญ่ แต่อาจกลั้นไม่ได้ประมาณสัปดาห์ละ 1 ครั้ง 
หรือต้องการความช่วยเหลือในการสวนอุจจาระ
   10 กลั้นได้ และ/หรือ ต้องสวนอุจจาระแต่สามารถทำได้เอง

9. Bladder การควบคุมการถ่ายปัสสาวะ
    0 กลั้นไม่ได้ ถ่ายปัสสาวะกระปริดกระปรอย/ต้องสวนปัสสาวะหรือ
ดูแลเมื่อคาสายสวนปัสสาวะให้
    5 กลั้นปัสสาวะไม่ได้ประมาณวันละ 1 ครั้ง และต้องการความช่วยเหลือให้การสวนปัสสาวะ
หรือดูแลเมื่อคาสายสวนปัสสาวะ
   10 กลั้นได้ ไม่มีปัสสาวะกระปริดกระปรอย ในกรณีที่คาสายสวนปัสสาวะสามารถดูแลได้เอง

10. Stairs การขึ้นลงบันได
    0 ไม่สามารถทำได้
    5 ต้องการคนช่วยเหลือ
    10 ขึ้นลงได้เอง (ถ้าต้องใช้เครื่องช่วยเดิน เช่น walker จะต้องเอาขึ้นลงได้ด้วย)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น