วันพุธที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2555


การดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง



โรคหลอดเลือดสมอง( cerebrovascular disease, stroke ) เป็นโรคที่พบบ่อยตลอดจนเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตและพิการที่สำคัญในประเทศไทย กล่าวคือ เป็นโรคที่เป็นสาเหตุของการเสียชีวิต อันดับ 1ในเพศหญิงและอันดับ 2 ในเพศชายตามลำดับ นอกจากนี้ยังเป็นโรคที่ทำให้เกิดการสูญเสีย ปีสุขภาวะ (Disability Adjusted Life Years ; DALYs ) ที่สำคัญอันดับ 2 ทั้งในเพศชายและเพศหญิง ทั้งนี้โรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน(Cerebrovascular disease) พบได้ประมาณร้อยละ 70 ของโรคหลอดเลือดสมองทั้งหมด



ประเด็นการเรียนรู้ที่สำคัญ (Key Learning Point )


1. การรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน ควรให้การรักษา และแยกตามกลุ่ม

ผู้ป่วย ดังนี้

   1.1 Acute period เป็นมาภายใน 3 ชั่วโมงแรก พิจารณาให้ Thrombolytic drug

   1.2 Intermediate period เป็นมาภายใน 7 วัน แต่เกิน 3 ชั่วโมง พิจารณา Admit

   1.3 Rehabilitation period เป็นมาหลัง 7 วัน พิจารณา ดูแลฟื้นฟูสภาพที่บ้าน

2. การให้ยาลดความดันโลหิต ผู้ป่วยหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันระยะเฉียบพลัน (Acute Stroke) (ประมาณ 2 สัปดาห์แรกหลังจากเกิดอาการ) แม้ว่าจะมีความดันโลหิตสูง ก็ไม่ควรให้ยาลดความดันโลหิต ซึ่งเป็นภาวะ Compensation ของร่างกาย และการให้ยาลดความดันโลหิตจะทำให้เกิดผลเสียมากกว่าผลดี (แนวทางเวชปฏิบัติโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน สำหรับแพทย์ ) ยกเว้น มีข้อบ่งชี้เฉพาะ เช่นความดันซิสโตล่า > 220 mmHg. ความดันไดแอสโตล่า >120mmHg.,acute myocardial infarction , aortic dissection , acute renal failure , hypertensive encephalopathy ในกรณีจำเป็นต้องให้ยาลดความดันโลหิต ไม่ควรใช้ Nifedipine sublingual เนื่องจากความดันโลหิตอาจลดลงอย่างมาก และมีผลให้สมองขาดเลือดมากยิ่งขึ้น

3. ควรให้ Aspirin ขนาด 160–300 มิลลิกรัม ทางปากภายใน 48 ชั่วโมง หลังจากเกิดอาการ หรือหลังจากรับไว้ในโรงพยาบาล

4. ไม่ควรให้ Steroid เพื่อหวังผลในการลดภาวะสมองบวม เนื่องจากไม่ได้ผล และยังเพิ่ม ความเสี่ยงของการติดเชื้อแทรกซ้อน

5. ควรพิจารณาให้ Anticoagulant ในผู้ป่วยที่มีข้อบ่งชี้ที่ชัดเจน เช่น กรณีมีสาเหตุจากโรคหัวใจหรือหลอดเลือดที่คอและพยาธิ สภาพที่สมองมีขนาดไม่ใหญ่ ฯลฯ

6. ควรเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง ทุกราย


7. ไม่ควรให้น้ำเกลือในรูป 5 % glucose เพราะจะทำให้เกิดภาวะ lactic acid คั่งในสมอง ยกเว้นในรายที่มีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นต้องตรวจหาระดับน้ำตาลในเลือดทุกราย

8. ผู้ป่วยควรได้รับการดูแลรักษาภายใต้แนวทางหรือแผนการที่ได้รับการการวางแผนไว้
ล่วงหน้า เช่น Care map , pathway , Fast tract ด้วยทีมสหสาขาวิชาชีพ

9. การประเมินสภาพและความพร้อมของผู้ป่วย ด้วย Score , Scale ต่างๆ จะช่วยในการวางแผนการดูแลผู้ป่วยได้อย่างเหมาะสม เช่น
    - Barthel Index เพื่อประเมินกิจวัตรประจำวัน
    - Glasgow Coma Scale สำหรับการประเมิน Conscious ผู้ป่วย
    - Ranking Scale สำหรับประเมิน Disability

10. การ Early ambulation ทันทีที่ผู้ป่วยพร้อม จะช่วยลดภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อยได้
เช่น โรคปอดอักเสบ การเกิดแผลกดทับ

11. การช่วยเหลือผู้ป่วยฝึกเดิน จะต้องมีการประเมินความพร้อมและผู้ฝึกจะต้องมี
เทคนิคที่ดี เพื่อป้องกันผู้ป่วยหกล้ม การจัดเตรียมราวจับ และกระจกให้ฝึกเดิน
ที่หอผู้ป่วย

12. ผู้ป่วยที่ยังไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้ สำหรับผู้ป่วยที่ไม่สามารถเคลื่อนย้ายไปทำกายภาพ บำบัดที่ห้องกายภาพบำบัดได้ นักกายภาพบำบัดจะต้องมาค้นหาผู้ป่วยใหม่ได้เพื่อประเมินและวางแผน การทำกายภาพบำบัด โดยไม่ต้องให้มีการส่งปรึกษาจะสามารถช่วยผู้ป่วยให้มี Early ambulation ได้เร็ว

13. การประเมินความพร้อมในการกลืนของผู้ป่วย ได้แก่ ก่อนฝึกกลืน จะไม่ Force ให้ผู้ป่วย กิน/กลืน ถ้าผู้ป่วยยังไม่พร้อม เพราะจะทำให้ผู้ป่วยสำลักได้ และควรฝึกอย่างค่อยเป็นค่อยไปด้วยการ หัดกินน้ำจากช้อนชาก่อน แล้วค่อยฝึกกลืนของเหลวที่ข้นขึ้นได้
14. ผู้ป่วยหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันระยะเฉียบพลัน (Acute Stroke) ไม่ควร
ปล่อยให้มีไข้ เพราะจะเพิ่ม Brain damage ถ้ามีไข้ต้องรีบให้ยาลดไข้ และเช็ดตัวให้ไข้ลงทันที พร้อมทั้งรักษาสาเหตุของไข้

15. มีระบบการเตือน ไม่ให้ลืมพลิกตัว อย่างน้อยทุก 2 ชั่วโมง เช่น การลงบันทึก การกำหนด ท่านอน ตามเวลาที่เปลี่ยนไป ทุก 2 ชั่วโมง เป็นต้น การจัดท่านอนอย่างถูกเทคนิค จะสามารถทำได้โดยไม่ต้องใช้คนจำนวนมากและฝึกให้ญาติสามารถช่วยเหลืออย่างถูกวิธีด้วย

16. การจัดให้มีที่นอนลม สามารถลดการเกิดแผลกดทับผู้ป่วยได้เป็นอย่างดี ส่วนการใช้ห่วงยางกลม (โดนัท) รองก้น ไม่ช่วยลดการเกิดแผลกดทับแต่อาจทำให้ไปกดผิวหนังรอบๆ ทำให้การไหลเวียนโลหิตไม่ดีด้วย

17. การใช้ของแข็งดันเท้าในผู้ป่วยที่มี Foot drop ตลอดเวลา ไม่ช่วยให้ผู้ป่วยดีขึ้น แต่จะไปกระตุ้นให้ผู้ป่วยมี Clonus มากขึ้น การนวดเบาๆ และจับข้อให้เคลื่อนไหวอย่างสม่ำเสมอจะช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดและป้องกันข้อติดได้

18. การจัดสิ่งแวดล้อมของหอผู้ป่วย ประกอบด้วย ป้ายเตือนการระวังพลัดตกหกล้ม ไม้กั้นเตียง ราวจับผนังห้อง มีห้องน้ำภายในหอผู้ป่วยที่ไม่ไกลจากเตียง โดยมีกริ่งสัญญาณภายในห้องน้ำ มีราวจับป้องกันการหกล้ม และมีโถส้วมแบบชักโคลก กรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถเดินได้เอง ญาติสามารถพาผู้ป่วยนั่งรถเข็นไปสวมเข้ากับส้วมชักโคลกได้พอดี การจัดสิ่งแวดล้อมเหล่านี้จะเป็นตัวอย่างของการประยุกต์ใช้ ในการจัดสิ่งแวดล้อมของผู้ป่วยที่บ้านในกระบวนการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วย

19. การระบุ (Identify ) ญาติที่จะเป็นผู้ดูแลผู้ป่วยที่บ้านตัวจริงให้ได้ ( เนื่องจากอาจเป็นคนละคนกับที่เฝ้าอยู่โรงพยาบาล / มาเยี่ยม) และนำเข้า Home Program ที่ถูกต้อง จะช่วยเตรียมความพร้อมก่อน ผู้ป่วยกลับบ้านได้ดี และมีการดูแลที่ถูกต้องอย่างต่อเนื่อง

20. ควรมี Home Program ติดตามเยี่ยมผู้ป่วยที่บ้าน ตามศักยภาพที่จะสามารถทำได้

21. ผู้ป่วยควรได้รับการประเมิน ตลอดจนพิจารณาทำกายภาพบำบัดทุกราย

22. ผู้ป่วยทุกรายต้องได้รับการวินิจฉัยสุขภาพจิต และได้รับ Psychosupport จากแพทย์พยาบาลหรือนักจิตวิทยา โดยอาจเลือกใช้เทคนิค Self help group , Supporting group การให้คำปรึกษารายวัน เป็นต้น

23. ผู้ป่วยที่รอจำหน่ายทุกรายจะต้องมีการป้องกันการกลับเป็นซ้ำ
    23.1 ให้การรักษาปัจจัยเสี่ยง และควบคุมปัจจัยเสี่ยง
    23.2 พิจารณาให้ยาต้านเกล็ดเลือด (Antiplatelet) หรือยาป้องกันการแข็งตัวของเลือด (Anticoagulant) กรณีที่ได้รับยา Anticoagulant ก่อนให้ผู้ป่วยกลับบ้าน ควรตรวจให้แน่ใจว่า อยู่ใน Therapeutic range (1.5 –2.5 เท่า)
    23.3 ให้ความรู้ในการป้องกันการกลับเป็นซ้ำ อาการของการกลับเป็นซ้ำ และข้อปฏิบัติตัวเมื่อกลับเป็นซ้ำ
    23.4 ให้คำแนะนำในการปฏิบัติตัวเมื่อเกิดอาการผิดปกติ เช่น อ่อนแรงมากขึ้น ควรรีบมาโรงพยาบาล
    23.5 ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น