วันศุกร์ที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2556




Focus Charting

อ้างอิงจาก เอกสารประกอบการประชุมวิชาการ
โรงพยาบาลศิริราช
ความหมายของบันทึกทางการพยาบาล

              เป็นข้อมูลที่พยาบาลบันทึกถึงผู้ป่วยเฉพาะรายหรือกลุ่มผู้ป่วยที่ให้การดูแล
              - เมื่อให้การดูแลผู้ป่วยเฉพาะราย (อาจรวมถึงครอบครัว) บันทึกของพยาบาลแสดงให้เห็นถึงภาพที่ชัดเจนของพยาบาลที่ได้ดำเนินการและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วย
              - เมื่อให้การดูแลผู้ป่วยเป็นกลุ่ม (เช่น การให้ความรู้เป็นกลุ่ม โครงการสร้างเสริมสุขภาพ) บันทึกแสดงการบริการที่ได้จัดให้หรือสังเกตในภาพรวม คล้ายกับบันทึกผู้ป่วยเฉพาะราย ซึ่งสะท้อนข้อมูลการประเมินความต้องการ การวางแผนกิจกรรมหรือการปฏิบัติที่ให้ และผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับกลุ่มผู้ให้บริการ

ความสำคัญของบันทึกทางการพยาบาล

          -  บันทึกเป็นหลักฐานเพื่อยืนยันว่าพยาบาลได้ดูแลผู้ป่วยจริง
          -  ช่วยในการสื่อสารข้อมูลที่สำคัญเพื่อการดูแลผู้ป่วยที่ต่อเนื่อง ลดความผิดพลาด
          - เป็นเอกสารสำคัญที่แสดงให้เห็นถึงความรับผิดชอบและความน่าเชื่อถือของพยาบาล
          - ใช้เป็นเครื่องมือในการประกันคุณภาพทางการพยาบาลตามมาตรฐานวิชาชีพ
          - รับรองคุณภาพของโรงพยาบาล
          - เป็นหลักฐานสำคัญทางกฎหมายเมื่อถูกฟ้องร้อง
              - เพื่อกำหนดมาตรฐานค่าใช้จ่ายสำหรับการบริการทางการพยาบาล
              - การเบิกจ่ายทางการพยาบาล
              - การสอนและการวิจัย
              - เป็นเอกสารทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับการให้บริการทางการพยาบาล

วันพฤหัสบดีที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2555

F-A-S-T for STROKE



F-A-S-T  for  STROKE



คู่มือการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง

แนวทางการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่บ้าน


บทบาทหน้าที่ของญาติ/ผู้ดูแลและครอบครัว

·         กระตุ้นให้ผู้ป่วยทำกิจวัตรประจำวันด้วยตัวเองให้มากที่สุด เท่าที่ผู้ป่วยสามารถทำได้ เช่น การแปรงฟัน อาบน้ำ แต่งตัว หวี ผม รับประทานอาหารด้วยตนเอง การลุกนั่ง การขับถ่าย โดยญาติอาจคอยช่วยเหลือเป็นกรณีไป การกระตุ้นให้ผู้ป่วยทำกิจวัตรประจำวันด้วยตนเองจะทำให้ผู้ป่วยฟื้นได้เร็ว ขึ้น ญาติ / ผู้ดูแลควรให้กำลังใจ และส่งเสริมผู้ป่วยให้เกิดความเชื่อมั่นในตนเอง

·         กระตุ้นผู้ป่วยไม่ให้ลืมร่างกายข้างที่อ่อนแรง โดย จัดวางอุปกรณ์ เครื่องใช้ไว้ข้างที่อ่อนแรง การพูดคุย ยื่นสิ่งของให้หรือการป้อนข้าวควรเข้าข้างที่อ่อนแรง

·         กระตุ้นการรับรู้ บุคคล วันเวลา สถานที่ และสังคมโดย จัดให้มีนาฬิกา ปฏิทิน รูปภาพ โทรทัศน์ ให้ผู้ป่วยดู ให้ญาติหรือผู้ดูแลช่วยบอกถาม พูดคุย หรือให้ผู้ป่วยพูดคุยกับลูกหลาน ญาติพี่น้อง เพื่อนๆ หรือผู้คุ้นเคย

·         ครอบครัวให้ความรัก ความใส่ใจเข้าใจปัญหาของผู้ป่วย กระตุ้นให้ผู้ป่วยร่วมกิจกรรมต่างๆ ในครอบครัวเท่าที่ทำได้อย่างสม่ำเสมอไม่ปล่อยให้ผู้ป่วยนอนอยู่แต่บนเตียง เช่น พาผู้ป่วยไปเดินเล่น ออกกำลังกาย ออกนอกบ้านไปสถานที่ต่างๆ บางรายอาจต้องให้มีส่วนร่วมรับรู้ในกิจการงาน ตลอดจนสังคม สมาคม ที่เคยทำมาก่อนบ้างตามความเหมาะสม

·         ผู้ป่วยอาจมีความต้องการทางเพศเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งผู้ดูแลโดยเฉพาะสามีหรือภรรยา ควรทำความเข้าใจและปลอบโยนเป็นกำลังใจให้ผู้ป่วย

·         ควรมีการหมุนเวียนผู้ดูแล กรณีผู้ป่วยช่วยเหลือตนเองไม่ได้ เนื่องจากต้องดูแลอย่างใกล้ชิดเป็นเวลานาน ถ้ามีปัญหาในการดูแลผู้ป่วย ควรปรึกษาทีมสุขภาพ หรือปรึกษาทางโทรศัพท์

·         มาพบแพทย์ตามนัด รับประทานยาตามแพทย์สั่งให้ถูกต้องและครบถ้วน หากมีอาการผิดปกติให้มาพบแพทย์ก่อนวันนัด เช่น แขน-ขาอ่อนแรง หรือชามากขึ้น ง่วงซึม สับสนมากขึ้น พูดไม่ได้ ไม่เข้าใจคำพูดมากขึ้น มีไข้ติดต่อกันเกิน 3 วัน ปัสสาวะบ่อยกลั้นปัสสาวะไม่ได้ ปัสสาวะขุ่น มีกลิ่นเหม็น เป็นต้น

·         กรณีที่ต้องได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน ให้ติดต่อสถานบริการใกล้บ้าน เช่นโรงพยาบาล สถานีอนามัย หรือศูนย์บริการสาธารณสุขตามสิทธิการรักษาของผู้ป่วย

วันพุธที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2555

แนวทางการประเมินผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลัน


แนวทางการประเมินผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลัน  โรงพยาบาลพัทลุง
Acute stroke fast track guidelines for Phatthalung Hospital

      NIHSS: National Institute of Health Stroke Scale

                   1A. ระดับความรู้สึกตัว

   o 0-รู้สึกตัวดี
   o 1-ง่วงซึม ปลุกตื่นได้ง่าย
   o 2-หลับตลอดเวลา ปลุกโดยกระตุ้นแรง
   o 3-ไม่ตอบสนอง แต่ยังมีปฏิกิริยาอัตโนมัติ reflex
                  1B. คำถามระดับความรู้สึกตัว (ถามชื่อเดือนและอายุในปัจจุปัน)

   o 0-ตอบถูกทั้งสองข้อ
   o 1-ตอบถูก 1 ข้อ
   o 2-ตอบไม่ได้/ตอบผิดทั้ง 2 ข้อ
                 1C.  คำสั่งระดับความรู้สึกตัว (1- ลืมตาหลับตา, 2-กำมือแบมือข้างที่ไม่อ่อนแรง)

   o 0-ทำถูกทั้ง 2 อย่าง
   o 1-ทำถูกเพียงอย่างเดียว
   o 2-ไม่ทำตามคำสั่ง
                 2. การเคลื่อนไหวของตา

   o 0-มองตามได้ปกติ
   o 1-เหลือบมองด้านข้างได้แต่ไม่สุด
   o 2-เหลือบมองไปด้านข้างไม่ได้เลย หรือ มองไปด้านใดจนสุด
                3. การมองเห็น : ตรวจ VF

   o 0-ลานสายตาปกติ
   o 1-ลานสายตาผิดปกติบางส่วน
   o 2-ลานสายตาผิดปกติครึ่งซีก
   o 3-มองไม่เห็นทั้ง 2 ตา : ตาบอด
      4. การเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อใบหน้า
   o 0-ไม่มีกล้ามเนื้อใบหน้าอ่อนแรง
   o 1-กล้ามเนื้อใบหน้าอ่อนแรงเล็กน้อย สังเกตเห็นมุมปากตกหรือไม่เท่ากันเมื่อยิ้ม
   o  2-กล้ามเนื้อใบหน้าอ่อนแรงมาก แต่พอเคลื่อนไหวได้บ้าง
   o 3-ไม่สามารถเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อใบหน้าได้เลย
               5A .กำลังของกล้ามเนื้อแขนด้านซ้าย (เหยียดแขนออกในท่าคว่ำมือ 90 องศาในท่านั่ง หรือ 45 องศาในทานอน

   o 0-ยกแขนค้างได้นาน 10 วินาที
   o 1-ยกแขนได้แต่ไม่ถึง 10 วินาที
   o 2-ยกแขนขึ้นได้บ้าง แต่ไม่สามารถคงได้ในตำแหน่งที่ต้องการ
   o 3-ไม่สามารถยกแขนขึ้นได้
   o 4-ไม่มีการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อแขน
             5B .กำลังของกล้ามเนื้อแขนด้านขวา (เหยียดแขนออกในท่าคว่ำมือ 90 องศาในท่านั่ง หรือ 45 องศาในทานอน

   o 0-ยกแขนค้างได้นาน 10 วินาที
   o 1-ยกแขนได้แต่ไม่ถึง 10 วินาที
   o 2-ยกแขนขึ้นได้บ้าง แต่ไม่สามารถคงได้ในตำแหน่งที่ต้องการ
   o 3-ไม่สามารถยกแขนขึ้นได้
   o 4-ไม่มีการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อแขน
             6A .กำลังของกล้ามเนื้อขา ด้านซ้าย (ยกขาทีละข้าง ทำมุม30องศาในท่าเหยียด)

   o 0-ยกขาค้างได้นาน 5 วินาที
   o 1-ยกขาได้แต่ไม่ถึง 5 วินาที
   o 2-ยกขาขึ้นได้บ้าง แต่ไม่สามารถคงได้ในตำแหน่งที่ต้องการ
   o 3-ไม่สามารถยกขาขึ้นได้
   o 4-ไม่มีการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อขา
          6B .กำลังของกล้ามเนื้อขา ด้านขวา (ยกขาทีละข้างทำมุม 30องศาในท่าเหยียด)

   o 0-ยกขาค้างได้นาน 5 วินาที
   o 1-ยกขาได้แต่ไม่ถึง 5 วินาที
   o 2-ยกขาขึ้นได้บ้าง แต่ไม่สามารถคงได้ในตำแหน่งที่ต้องการ
   o 3-ไม่สามารถยกขาขึ้นได้
   o 4-ไม่มีการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อขา
           7.การประสานงานของแขนและขา: finger to nose test, heel to shin test

   o 0-การประสานของแขนขาทั้ง 2 ข้างเป็นปกติ
   o 1-มีปัญหาการประสานงานของแขนหรือขา 1 ข้าง
   o 2-มีปัญหาการประสานงานของแขนหรือขา 2 ข้าง
          8.การรับความรู้สึก : Sensory- touch, pinprick
   o 0-การรับความรู้สึกเป็นปกติ
   o 1-สูญเสียการรับความรู้สึกปานกลาง
   o 2-ไม่รู้สึกว่าถูกสัมผัส
         9.ความสามารถด้านภาษา

   o 0-การสื่อสารภาษาเป็นปกติ
   o 1-การสื่อภาษาสูญเสียระดับน้อยถึงปานกลาง พอเข้าใจได้บ้าง
   o 2-การสื่อภาษาเสียรุนแรง สื่อสารกันได้ไม่เข้าใจ : severe aphasia
   o 3-ไม่พูดหรือไม่เข้าใจภาษา ไม่สามารถแสดงท่าทางการสื่อสารให้เข้าใจได้ : mute or global aphasia
       10. การออกเสียง

   o 0-เปล่งเสียงปกติ
   o 1-พูดไม่ชัดเล็กน้อย พอเข้าใจได้
   o 2-พูดไม่ชัดอย่างมาก ไม่สามารถเข้าใจได้ โดยไม่มีความผิดปกติของความเข้าใจภาษา
       11. การขาดความสนใจด้านหนึ่งด้านใดของร่างกาย(Neglect) เช่น การมองเห็น การสัมผัส การได้ยินเมื่อ กระตุ้นทั้งสองข้าง

   o 0-ไม่พบความผิดปกติ
   o 1-ผิดปกติเรื่องการรับรู้ชนิดใด ชนิดหนึ่ง
   o 2-ผิดปกติมากกว่า 1 ชนิด หรือไม่รู้จักมือของตนเอง หรือ ตอบสนองต่อสิ่งเร้าเพียงด้านเดียว

                                รวมคะแนน ...............................

 





แนวทางการประเมินผู้ป่วยทางระบบประสาท (Neurological assessment)

แนวทางการประเมินผู้ป่วยทางระบบประสาท (Neurological assessment)

กิจกรรม 1. ประเมินระดับการเปลี่ยนแปลงของระดับความรู้สึกตัว

1.1 โดยใช้ Glasgow coma scale (GCS) ซึ่งมีคะแนนรวมสูงสุด = 15 คะแน

               การลืมตา (Eye opening)
        • ลืมตาได้เอง                                       4 คะแนน
        • ลืมตาเมื่อเรียก                                   3 คะแนน
        • ลืมตาเมื่อรู้สึกเจ็บปวด                     2 คะแนน
        • ไม่ลืมตาเลย                                        1 คะแน
การตอบสนองต่อการเรียกหรือการพูด (Verbal)
        • พูดคุยได้ไม่สับสน                            5 คะแนน
        • พูดคุยได้แต่สับสน                            4 คะแนน
        • พูดเป็นคำๆ                                          3 คะแนน
        • ส่งเสียงไม่เป็นคำพูด                         2 คะแนน
        • ไม่ออกเสียงเลย                                  1 คะแนน
การเคลื่อนไหวที่ดีที่สุด (Movement)
        • ทำตามคำสั่งได้                                  6 คะแนน
        • ทราบตำแหน่งที่เจ็บ                          5 คะแนน
        • ชักแขน ขาหนีเมื่อเจ็บ                      4 คะแนน
        • แขนงอผิดปกติ                                   3 คะแนน
        • แขนเหยียดผิดปกติ                           2 คะแนน
        • ไม่เคลื่อนไหวเลย                              1 คะแนน

1.2 ขนาดรูม่านตา และปฏิกิริยาต่อแสง

มีปฏิกิริยาต่อแสงไฟฉาย (บันทึกตัวย่อ RA = reaction)
มีปฏิกิริยาต่อแสงไฟฉายช้า (บันทึกตัวย่อ RS =sluggish)
ไม่มีปฏิกิริยาต่อแสงไฟฉาย (บันทึกตัวย่อ N =no reaction)
 ตาปิด (บันทึกตัวย่อ C =close)

1.3 กำลังของแขน ขา (motor power)
แขน กำลังปกติ                                                    ขวา ซ้าย
ยกแขนต้านแรงไม่ได้                                        ขวา ซ้าย
ขยับได้ตามแนวราบ                                            ขวา ซ้าย
กระดิกนิ้วได้                                                        ขวา ซ้าย
ไม่มีการเคลื่อนไหว                                            ขวา ซ้าย
ขา กำลังปกติ                                                        ขวา ซ้าย
ยกขาต้านแรงไม่ได้                                             ขวา ซ้าย
ขยับได้ตามแนวราบ                                           ขวา ซ้าย
กระดิกนิ้วได้                                                        ขวา ซ้าย
ไม่มีการเคลื่อนไหว                                            ขวา ซ้าย

1.4 สัญญาณชีพ
อุณหภูมิร่างกาย (บันทึกตัวย่อ T = temperature)
ชีพจร (บันทึกตัวย่อ P = pulse)
อัตราการหายใจ (บันทึกตัวย่อ R = respiratory)
ความดันโลหิต (บันทึกตัวย่อ BP = blood pressure) ถ้า SBP > 185-220 mmHg

                               DBP > 120-140 mmHg วัด 2 ครั้ง ติดต่อกัน ใน 5 นาที และรายงานแพทย์ทันที

ยาที่ใช้ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง


ยาที่ใช้ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง

ยาที่ใช้ในโรคหลอดเลือดสมองแบ่งได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ คือ

1. ยาต้านการแข็งตัวของเลือด (Antiplatelets) ซึ่งในที่นี้จะขอเน้นยาที่อยู่ในรูปแบบยารับประทาน ได้แก่


    Aspirin ( แอสไพริน ) 


อาการข้างเคียง :
1.ตัวยาอาจระคายเคืองต่อเยื่อบุกระเพาะอาหาร ทำให้ปวดท้องหรืออาเจียนหลังรับประทาน บางรายอาจทำให้เกิดโรคกระเพาะอาหารเพราะ ฉะนั้นไม่ควรรับประทานยาในขณะท้องว่าง ควรรับประทานยาหลังอาหารทันที หรือหลังดื่มนม และควรดื่มน้ำตามมาก ๆ ภายหลังรับประทานยา2.ยานี้อาจทำให้เลือดออกง่าย เนื่องจากทำให้การเกาะตัวของเกล็ดเลือด (Platelets Aggregation) ลดลง จึงควรระวังในผู้ป่วยที่สงสัยว่าจะมีเลือดออก เช่น ไข้เลือดออก โรคเลือดต่าง ๆ 


ข้อควรระวัง :

1. ในผู้ที่มีอาการแพ้ยานี้ โดยอาจมีผื่นคันหรือลมพิษขึ้น ถ้าแพ้มาก ๆ อาจมีหอบหืดหรือชัก ซึ่งหากพบอาการดังกล่าวให้หยุดยาทันที แล้วให้รีบมาพบแพทย์ และไม่ควรรับประทานยานี้อีกอย่างเด็ดขาด เพราะจะทำให้เกิดอาการแพ้ได้อีก
2.ถ้าใช้ขนาดมากเกินไปจะเป็นพิษ ทำให้มีอาการมึนงง ใจสั่น หูอื้อ หากเป็นรุนแรงอาจชัก ซึมจนถึงไม่รู้สึกตัว ดังนั้น จึงควรรับประทานยาให้ถูกต้องตามที่แพทย์สั่งและเก็บยาไว้ให้มิดชิด พ้นจากมือเด็ก3. ไม่ควรใช้ยาในเด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี ที่เป็นไข้หวัดใหญ่ หรืออีสุกอีใส เพราะอาจทำให้เกิดโรคเรย์ซินโดรม (Reye's Syndrome)ซึ่งมีอันตรายร้ายแรงถึงแก่ชีวิตได้4.ไม่ควรใช้ในหญิงตั้งครรภ์ช่วง 3 เดือนก่อนคลอด เพราะอาจทำให้ตกเลือดได้ง่าย และอาจทำให้เกิดความผิดปกติเกี่ยวกับทารกได้ 



Clopidogrel ( โคลพิโดเกรล ) 

ผลข้างเคียงจากยา :
ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักสามารถทนต่ออาการข้างเคียงของยาได้ดี โดยอาการไม่พึงประสงค์ที่พบได้บ่อย ก็เช่นเดียวกับยาต้านเกล็ดเลือดอื่น ๆคือการมีเลือดออกผิดปกติ และอาจพบอาการท้องเสีย เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง แผลในทางเดินอาหาร และกลุ่มอาการอาหารไม่ย่อย
ข้อควรระวัง :

ผู้ป่วยที่แพ้ยานี้ ผู้ป่วยที่มีพยาธิสภาพของภาวะตกเลือดที่กำลังดำเนินอยู่ เช่น ภาวะเลือดออกในสมอง 


2. ยาต้านการเกิดลิ่มเลือด (Anticoagulants) ในที่นี้จะขอเน้นเฉพาะยาที่อยู่ในรูปแบบยารับประทาน ได้แก่


   Warfarin ( วาฟาริน ) 

ผลข้างเคียงจากยา :อาการข้างเคียงที่พบบ่อย คือ ภาวะเลือดออก (bleeding) ซึ่งสามารถแก้ไขได้ด้วยการหยุดยาหรือการลดขนาดยาลง หากมีอาการเลือดออกที่ไม่รุนแรง 

ข้อควรระวัง : 
ยานี้ห้ามใช้ในระหว่างตั้งครรภ์




3.ยาสลายลิ่มเลือด (Thrombolytics หรือ Fibrinolytics) ได้แก่ Streptokinase , Urokinase , Alteplase (tissue plasminogen activator, rt-PA) 
ซึ่งมักบริหารยาโดยการฉีดในผู้ป่วยที่รับการรักษาตัวในโรงพยาบาล 


คำแนะนำในการใช้ยาโรคหลอดเลือดสมอง

1. อ่านฉลากยาให้เข้าใจก่อนการใช้ยาทุกครั้ง
2. รับประทานยาให้ครบตามที่แพทย์สั่งอย่างสม่ำเสมอ
3. ควรหยุดยาก่อน 7 วันที่จะไปผ่าตัดหรือถอนฟัน
4. หากมีอาการผิดปกติใดๆ หลังได้รับยาเช่น มีเลือดออกผิดปกติ ปัสสาวะเป็นเลือด มีจ้ำเลือดเกิดขึ้นตามตัว หรือมีเลือดออกตามไรฟันมากผิดปกติ ควรปรึกษาแพทย์ทันที
5. หากได้รับยาอื่นรับประทานร่วมด้วยควรแจ้งแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้ง
6. อาหารเสริมบางชนิดมีผลทำให้เกิดอาการข้างเคียงจากยากลุ่มนี้ได้ เช่น 
แปะก๊วย กระเทียม เลซิทิน น้ำมันปลา วิตามินอี เป็นต้น ดังนั้น หากจะรับประทานอาหารเสริมใดควรแจ้งแพทย์หรือเภสัชกรก่อนทุกครั้ง หากมีอาการแพ้ยา เช่น ผื่นคัน บวม ต้องหยุดยา และมาพบแพทย์